หนังสือพิมพ์นี่แหละที่ชักนำให้ "อาแปะ" ขยันปั่นจักรยานมาอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่บ้านผมทุกวัน นอกจากอ่านแล้ว "อาแปะ" กับเตี่ยผมยังอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย บางวันเห็นสอดคล้องกันก็พูดเสียงเบาหน่อย และพูดเพียงคนใดคนหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งก็พยักหน้าหรือส่งเสียง "ฮ่อๆ" คือเห็นพ้องด้วย แต่ถ้าวันใดมีความเห็นไม่ตรงกันก็จะเถียงกันเสียงดัง และดังขึ้นๆ จนดูเหมือนทะเลาะกัน ตอนแรกๆ ลูกเมียของเตี่ยเอาใจเชียร์ช่วยลุ้นให้คนคู่นี้ทะเลาะโกรธกันเสียที แต่ไม่เคยสำเร็จ ทั้งๆ ที่เมื่อวานเถียงกันหน้าดำหน้าแดง อ้าว! วันนี้ "อาแปะ" ยิ้มแย้มเข้ามาเชียว ส่วนเตี่ยของผมนั้นไม่เคยหน้าบึ้งโกรธใคร เว้นแต่โมโหลูกชาย "จอมซน" คือตัวผมเวลาไปก่อเหตุเภทภัยมา
ถ้าเพียงแต่ "อาแปะ" มาอ่านหนังสือพิมพ์กินน้ำชา และขนมจันอับที่บ้านเรา และโต้เถียงกับ "เตี่ย" ของเราในบางครั้งเท่านั้น พวกเราก็จะไม่รังเกียจเดียดฉันท์ "อาแปะ" หรอกครับ ก็พวก "เพื่อนโกง" ของเตี่ย ที่ทั้งโกง ทั้งตีหัว "เตี่ย" ด้วย พวกเราก็โกรธเกลียดไปไม่กี่วันหรอกครับ ไม่นานก็ลืมแม้แต่ชื่อของคนพวกนี้ ที่พวกเรารังเกียจ "อาแปะ" มากก็เพราะว่า "อาแปะ" ป่วยด้วยโรคผิวหนังเรื้อรัง พวกเราไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหิด กลาก เกลื้อน หรือไทกอกันแน่ แต่คงไม่ใช่โรคเรื้อนเพราะหูยังไม่หนา ตาก็ไม่เร่อ มือเท้ายังไม่เน่าเฟอะกุดไป
อาการของ "อาแปะ" เท่าที่พวกเราจับตาดูจนเจนตาคือ คันตลอดเวลาและทั่วร่าง จึงเกาจนผิวหนังหลุดหล่นอยู่รอบๆ ที่ "อาแปะ" นั่งอยู่นั้น บางครั้งเกาด้วยมือไม่มันถึงใจ "อาแปะ" ถือวิสาสะเข้าครัวไปหยิบช้อนแกงมาใช้เกาแทน แม่ของผมจึงจัดมุมอ่านหนังสือพิมพ์ไว้ให้ "อาแปะ" ทางด้านนอกร้าน ตอนบ่ายๆ พอเห็นแขกที่น่ารังเกียจมาเยือน ต้องรีบนำหนังสือพิมพ์ไปวางไว้ ณ ที่ซึ่งจัดไว้ และให้รีบนำกาชงน้ำชาวางในถาดที่มีถ้วยและจานใส่ขนมจันอับไปวางไว้ให้พร้อม เราไม่ต้องการให้เข้ามาในบ้าน "อาแปะ" ไม่รู้จักเจ็บจักป่วยด้วยโรคอื่นใด ทั้งๆ ที่ในสภาพความเป็นจริง "อาแปะ" คันนิรันดร์กาลถึงขนาดนั้น น่าจะนอนไม่ค่อยหลับ เกิดความอ่อนเพลียซูบผอม ต้องเจ็บป่วย และควรจะตายเป็นลำดับท้ายสุด
ที่ไหนได้ "เตี่ย" ของผมต่างหากที่กลับป่วยเสียเอง ทั้งๆ ที่เป็นคนอารมณ์ดี กินอิ่มนอนหลับ ไม่มีอะไรเครียด แต่กลับป่วยด้วยโรคร้ายแรง คือ "เนื้องอกในกระเพาะ" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รักษาตัวด้วยหมอไทย หมอจีน หมอพม่า และเข้ากรุงเทพฯ มารักษาตัวในโรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลมิชชั่น และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ในที่สุดหมอก็หมดทางรักษา แม่ของผมจึงพา "เตี่ย" กลับไปถึงแก่กรรมที่บ้า เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
การเสียชีวิตของ "เตี่ย" ทำให้เราสบายใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ "อาแปะ" ไม่มาเยือนเรือนของเราอีกเลย ... โฮ่ย โล่งใจ สบาย! ผ่านไปหลายๆ ปีจนผมเกือบลืมไปแล้วว่ามี "อาแปะจอมคันนิรันดร์กาล" อยู่ในโลกนี้ ถ้า ... แม่ของผมไม่เอ่ยถึงชื่อ "อาแปะ" ขึ้นมาอีก พร้อมกับหยิบถุงขนมรังผึ้งออกจากตะกร้าจ่ายตลาดของแม่เอ่ยว่า "อาแปะ" ฝากขนมมาให้พวกเรา ผมจำได้แม่นว่าเมีย "อาแปะ" ทำขนมรังผึ้งขายทุกเช้า ผมกับน้องๆ ร้อง "อึ้ยย ! ทำไมแม่ไม่ทิ้งลงถังขยะ" แม่กลับย้อนถามว่า "ทิ้งทำไม?" "อ้าว ! ก็ของคนไทกอน่ะกินเข้าไปได้ยังไง"
มะขามเปียก (ภาพจากเว็บไซต์) |
แขกอรุณจึงบอกเอาบุญว่า "
แม่ของผมลงท้ายว่า "ถ้าแม่ไม่เห็นกับตาว่าแกหายป่วยจริงๆ ใครจะกล้ารับขนมของแก"
อีก ๓ - ๔ ปีต่อมา อาแปะก็สิ้นบุญ ต้องเรียกว่า "สิ้นบุญ" เพราะเวลาที่มีเวรกรรมทุกข์ทรมานด้วยโรคผิวหนังตั้งหลายสิบปีไม่ยักตาย แต่พอมีบุญได้รับความสุขเพราะหายทรมานจากการคันแล้ว ก็กลับหัวใจวายหลับตายไปง่ายๆ ส่วน "แขกอรุณ" (ฮารูน) ผู้บอกตำรายาวิเศษราคาไม่กี่บาทให้อาแปะ ก็แก่ตายในเวลาต่อมา เมื่อช่วงปี ๒๕๒๖ ผมเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ พบว่ามีร้านขายก๋วยเตี๋ยว "ข้าวซอย" จากลำปางตั้งอยู่ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม ผมจึงแวะไปกิน อ้อ ... เป็นลูกหลานของ "แขกอรุณ" แต่ขณะนี้ (๒๕๔๕) ร้านนี้เลิกกิจการไปแล้ว ก่อนหน้านั้นผมมีโอกาสพบคุณป้าเมียของ "แขกอรุณ" ซึ่งมาเยี่ยมลูกหลาน ผมจึงได้แนะนำตัวว่าเป็นลูกชายของใคร คุณป้าร้อง "อ๋อ ! แม่คำ ตายไปหลายปีแล้วเนาะ" ใช่จริงๆ นะ แม่ของผมถึงแก่กรรมตั้งแต่กลางปี ๒๕๑๙
มะขามเปียก (ภาพจากเว็บไซต์) |
สะระแหน่ฝรั่ง (ภาพจากเว็บไซต์) |