Friday, August 4, 2017

ได้ประโยชน์อะไรจากการอ่าน "เรื่องจีน"

                   ชนชาติจีนมีประวัติศาสตร์  พงศาวดารหรือตำนานจารึกเรื่องราวของชนชาติจีนต่อเนื่องกันมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี  ช่วงเวลาที่ยาวนานมากกับจำนวนประชากรที่มีมากกว่าชนชาติใดในโลก  จึงมีเรื่องราวของผู้คนหลากหลายในรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านดี และด้านไม่ดี



                   คนดีๆ  ที่ประกอบกรรมดีมีเกียรติคุณสูง  แม้ชาติภูมิกำเนิดจะต่ำต้อยน้อยค่าปานใดก็ตาม  คนผู้นั้นก็มีสิทธิ์ได้รับความเคารพยกย่องจากอนุชนรุ่นหลังให้เป็น "เทพเจ้า"  สร้างรูปปั้น และศาลเจ้าขึ้นกราบไหว้บูชา  กวนอู"  วีรบุรุษในยุค "สามก๊ก"  เมื่อราว ๑,๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว  เป็นผู้ซึ่งคนจีนและคนเชื้อสายจีนเคารพบูชามากที่สุด  พอๆ กับเทพเจ้า ๓ องค์ที่รู้จักกันในนาม "ฮก ลก ซิ่ว"  ซึ่งทั้งสามองค์นี้ที่จริงก็มาจากคนธรรมดาสามัญ  แต่ต่อมาได้สร้างเกียรติคุณพิเศษเกิดขึ้นในตน   คนจีน  คนไทยเชื้อสายจีนรวมทั้งคนไทยแท้ๆ ในเมืองไทย  ได้เห็นบ้านขุนนางคหบดีจีนสมัยก่อนนิยมตั้งรูปปั้นเทพเจ้า "ฮก ลก ซิ่ว"  ไว้เคารพบูชาในบ้านก็พากันทำตามอย่างนั้นบ้าง   เราจึงได้เห็นคฤหาสน์ และบ้านของผู้หลักผู้ใหญ่ตลอดจนคหบดีเศรษฐีนักธุรกิจ  ข้าราชการและบุคคลทั่วไปในเมืองไทยนับแสนๆ รายขึ้นไป  แต่บางรายตั้งเทพทั้งสามไม่ถูกแบบธรรมเนียม  กล่าวคือตั้ง "ฮก" ไปซ้ายสุด  "ลก" อยู่ตรงกลาง   "ซิ่ว"  อยู่ขาวสุด  ในรูปแบบที่เราเขียนชื่อว่า "ฮก ลก ซิ่ว"  ตามลักษณะการเขียนหนังสือไทย  ดังเช่น

ท่าน "ฮก ลก ซิ่ว"  ท่านเป็นคนจีนในสมัยโบราณกว่าพันปีมาแล้ว  กรรมวิธีการเขียนหนังสือของจีน (ก่อนปฏิวัติวัฒนธรรม)  เขียนจากขวามาหาซ้าย ทำนองนี้คือ "ซิ่ว ลก ฮก"  ลองไปดูอักษรภาษาจีนตามป้ายยี่ห้อร้านของคนจีนรุ่นเก่าในบ้านเราดูเถิด  เขียนทำนองนี้ทั้งนั้น

                     คนที่ตั้งรูปปั้นเทพ "ฮก ลก ซิ่ว"  ถูกทิศทางดีแล้ว  แต่ถ้าถูกถามว่า  "ฮก" หมายความถึงอะไร?  "ลก"  หมายความถึงอะไร?   "ซิ่ว" หมายความถึงอะไร?  จะมีคนตอบได้ถูกต้องชัดเจนถึงครึ่งจำนวนของผู้ที่มี "ฮก ลก ซิ่ว"  อยู่ในบ้านหรือไม่?    ไม่แน่ใจ  ยิ่งถามว่าชีวประวัติของ "ท่านฮก" ของ  "ท่านลก" ของ  "ท่านซิ่ว" มีความเป็นมาอย่างไร?  หาใครรู้ได้น้อยคนนัก! 

                     เรื่องราวรายละเอียดชีวประวัติและคุณวิเศษของ  "ฮก ลก ซิ่ว"  ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร  ถ้าท่านได้ศึกษาหรือได้อ่าน  "เรื่องจีน"  ท่านก็จะเข้าใจได้ความรู้ไม่ "เชย" อีกต่อไป

                    
นครซีอาน 

ภาพวาดหยางกุ้ยเฟย
ภาพวาดจิ๋นซีฮ่องเต้











ผู้เขียนพาคณะไปเยือน  นครลั่วหยาง"  อดีตเมืองหลวงของมหาอาณาจักรจีนในยุค "สามก๊ก"  เราไปเยี่ยมชม  "สำนักวัดเส้าหลิน"  ซึ่งตั้งอยู่ชายป่า "เส้าหลิน"  นอกเมืองไปสัก ๑๐ กว่ากิโลเมตร   พวกเราทุกคนก็เข้าไปเยี่ยมชมสถานที่เช่นที่นักทัศนาจรทั้งหลายทั้งปวงปฏิบัติกัน  เพื่อนร่วมคณะคนหนึ่งเชื้อสายจีน  "แซ่เฮ้ง"  กำลังจุดธูปจะเข้าไปกราบบูชารูปหล่อปรมาจารย์ "ตักม้อ" (ชื่อที่ถูกคือ "ตะโมภิกขุ"  ซึ่งเป็นพระสงฆ์จากอินเดียมาก่อตั้ง  "สำนักสงฆ์เส้าหลิน" ขึ้น)  ผู้เขียนทักลอยๆ ขึ้นว่า  "คนแซ่เฮ้ง"  ใจกว้างดีเนาะ  สู้อุตส่าห์ไหว้คนที่ขัดโชคขัดลาภของบรรพบุรุษ!
ภาพสำนักสงฆ์วัดเส้าหลิน

                 

                     "เพื่อนแซ่เฮ้ง"  ชะงักกึก และทำหน้างงๆ  แต่คงคิดว่า  "ถูกอำเล่น"  จึงทิฐิไหว้  "ปรมาจารย์ตักม้อ"  ต่อไปจนเสร็จการ  แต่ยังไม่วายสงสัย  เขาจึงเดินตามมาถามผู้เขียนว่าที่ทักเมื่อกี้น่ะ พูดเล่นหรือพูดจริง?  ผู้เขียนก็ยืนยันว่า  พูดจริงๆ!  และเล่าเกร็ดพงศาวดารจีน  ช่วงตอนปลายราชวงศ์สุย  ตอนยุทธการ  "ทุ่งเส้าหลิน"  เมื่อ "เฮ่งสีช่วง"  (หรือ "หวังซื่อฉวง")  ประมุขก๊กที่ยิ่งใหญ่ก๊กหนึ่งยกทัพเข้าสู้รบกับกองทัพใหญ่ของ "หลีซีหมิน" (หรือ "หลี่ซื่อหมิน")  แม่ทัพใหญ่ของอีกก๊กหนึ่ง คือ "คนแซ่เฮ้ง หรือแซ่หวัง"  กำลังชิงกันเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนกับ "คนแซ่ลี้ หรือแซ่หลี่

                      คนแซ่ลี้ หรือแซ่หลี่พ่ายแพ้  แม่ทัพหนีสุดชีวิตในขณะที่ "เฮ่งสีช่วง หรือหวังซื่อฉวง" กำลังจะปลิดชีวิตข้าศึกอยู่แล้ว...  ชนะได้ครั้งนี้ก็เห็นตำแหน่ง "ฮ่องเต้" อยู่ในกำมือแน่  เหมือนดั่ง  "หมูกำลังจะหาม"  แต่...ปรมาจารย์ตะโม หรือตักม้อ"  กลับแทรกเข้ามาขัดจังหวะ  เหมือนดังเอาคานเข้ามาสอด  เหยื่อจึงรอดไปได้..."  ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์ชาติจีน  ย่อมต้องจดจารึกว่า  "แซ่เฮ้ง (หรือ "แซ่หวัง")  เป็นแซ่ของราชวงศ์หนึ่งของมหาอาณาจักจีน (ถัดจากราชวงศ์สุย)  แทนที่จะเป็น "ราชวงศ์ถัง" ของคนแซ่ลี้ หรือแซ่หลี่ อย่างที่เป็นอยู่จริงในพงศาวดารจีน

                      กรณีตัวอย่างที่ยกมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องของคนแซ่ลี้ (หรือ "แซ่หลี่")  กับ "หยางกุ้ยเฟย" กับเรื่องของคนแซ่เฮ้ง กับสำนักวัดเส้าหลิน  หากท่านได้อ่าน "เรื่องจีน"  มากพอแล้ว  ท่านก็จะไม่ทำอะไรเชยๆ หรือผิดแบบธรรมเนียมจีน  

                      ถ้าท่านไม่มีเวลามากพอที่จะอ่านศึกษา "เรื่องจีน" ทั้งหมดละก็  เพียงแต่อ่านหนังสือเรื่อง "เที่ยวที่ไหน ในเมืองจีน"!  ท่านก็ไม่เชยในกรณีตัวอย่างที่ยกมาเล่านั่นแล้วหละครับ