ศ.นพ.ประเวศ วะสี |
ศ.นพ. ประเวศ วะสี "ราษฎรอาวุโส" ผู้ศึกษาเข้าใจสังคมไทยอย่างยิ่งคนหนึ่ง ได้กล่าวว่า "ปัญหาของประเทศไทย คือ การพัฒนาเป็นส่วนๆ ต่างหน่วยงาน ต่างองค์กร ต่างคนต่างทำ จึงไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งพัฒนายิ่งถอยหลัง ยิ่งช่วยคนจน ก็ยิ่งยากจน หนี้สินเพิ่มขึ้นๆ ..."
นโยบายเรื่อง "ครัวไทยไป(สู่)ครัวโลก" ไม่รู้ว่ารัฐบาลชุดไหนคิดขึ้นราว ๒๐ ปีแล้วมั้ง? แรกๆ ฟังแล้ว "ปิ๊ง" เพราะบรรดานักท่องเที่ยวนานาชาติที่มาเยือนเมืองไทยปีละนับล้านคน พอพูดถึงรสชาดอาหารไทย ต่างก็ยกนิ้วให้โดยเฉพาะเมนูต้มยำกุ้ง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ข้าวผัดปู(ปูทะเลหรือปูม้า) บางส่วนซี้ดปาดเมื่อพูดถึง "ส้มตำ" ฯลฯ แต่...ครั้นเมืองไทยเกิดวิกฤต "ต้มยำกุ้ง" รัฐบาลต่อๆ มาก็ไม่พูดถึงนโยบาย "ครัวไทยไปสู่ครัวโลก" อีก จนบัดนี้คนไทยก็ชักลืมๆ ไปแล้ว แต่...นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เคยลิ้มชิมรสอาหารไทยยังถวิลหา ก็ยากที่จะได้กินในภูมิลำเนาของตน หรือนอกประเทศไทย
เมนูน้ำพริก |
บริษัทคนไทย ๓-๔ ราย ได้โอกาสดี ผลิตเครื่องปรุง/เครื่องแกงสำเร็จรูปของอาหารไทย บรรจุซองออกจำหน่ายซึ่งคนไทยในต่างแดนบางส่วน ก็พอจะอาศัยปรุงกิน "กล้อมแกล้ม" แต่คนต่างชาติย่อมยากที่จะกล้าหาญลงมือปรุงอาหารไทยกินกันเอง แต่ถึงกระนั้น บริษัทผู้ผลิตเครื่องปรุง/เครื่องแกงก็พออยู่ได้ด้วยรายได้ระดับสิบๆ ล้านบาทขึ้นไปถึงร้อยๆ ล้านบาท โตช้าๆ ไม่รุ่งเท่าที่ควร
ผู้เขียนลองเสนอแนวทางที่จะทำให้ความฝันของ "ครัวไทยไปสู่ครัวโลก"! ได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ทั้งนี้ โดยต้องร่วมมือกันอย่างผสมกลมกลืนหลายๆ ภาคส่วน ทั้งภาคราชการและเอกชนดังนี้คือ
๑. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานให้ "ครัวไทยไปสู่ครัวโลก"! โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีระดับรองนายกฯ และข้าราชการระดับสูง รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการฯ
๑.๑. เริ่มโดยขอให้การท่องเที่ยวฯ พิมพ์แบบสอบถามเพื่อพิสูจน์ทราบว่า นักท่องเที่ยวที่มา
ลองลิ้มชิมรสอาหารไทยแล้ว เขาชอบอาหารเมนูใดบ้าง? รสชาดระดับใด (อ่อน/กลาง
เข้ม/เผ็ด)
๑.๒. ขอความร่วมมือ แจกให้ตอนตรวจคนเข้าเมืองเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว ขอรับคืนตอนตรวจ
ออกเมือง (โดยหาของที่ระลึกเล็กน้อย มอบแก่ผู้นำแบบพิมพ์/ที่กรอกข้อมูลมาส่งคืน)
๑.๓. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสามารถศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่รับคืน
มาก็ย่อมทราบข้อมูล อย่างน้อยคือ
(ก.) ชาวเมืองใด/ประเทศใด สนใจทดลองกินอาหารไทยสักกี่คน (มาก/น้อย?
เทียบ%)
(ข.) อาหารที่ชอบคือ เมนูใด?
(ค.) รสชาดอาหารที่ชอบคือ รสอ่อน/กลาง/จัด? ฯลฯ
๑.๔. ชาวไทยภาคต่างๆ ยังกินอาหารต่างระดับรสชาดกัน เช่น ภาคเหนือล้านนารสอ่อน
ภาคกลาง/รสกลางๆ ภาคอีสาน/ภาคใต้ รสจัด/ถึงจัดเข้ม
***ชาวจีน(และประเทศที่กว้างใหญ่อื่นๆ) จะชอบรสชาดอาหารต่างกันแน่นอน เช่น คนจีนภาคเหนือไม่กินเผ็ดเลย แต่คนจีนในภาคใต้ เช่น ในมณฑลหยุนหนาน เสฉวน กุ้ยโจว กว่างสี หูหนาน กินเผ็ดยิ่งกว่าคนไทยทั่วไปด้วยซ้ำ ดังนั้นอาหารไทยที่จะจัดส่งไปเผยแพร่ ณ เมืองใด ต้องคำนึงถึงรสชาดนิยมของชาวเมืองนั้นๆ ด้วย
๑.๕. ขอความอนุเคราะห์สมาคมภัตตาคารไทยติดต่อ/เสนอไปยังภาคีสมาชิกสมาคมภัตตาคารนานาชาติว่า ภัตตาคารในต่างประเทศใดบ้าง
(ก.) สนใจจะซื้อเครื่องปรุง/เครื่องแกงอาหารไทยไปทดลองจัดเมนูให้ลูกค้าของเขาได้
กินบ้าง? เราจะจำหน่ายให้ในราคาถูก(๕๐%) ในช่วงเผยแพร่นี้ (กำหนดเวลา
สัก ๖ เดือน) หรือ
(ข.) สนใจจะส่งผู้แทนภัตตาคารแห่งละ ๒ คน มา(ตระเวน)ชิมอาหารไทยบ้างไหม?
***ถ้าสนใจ (เรา)ก็เชิญมาเยือนไทยคณะละ ๕ - ๗ วัน โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้เยือนจ่ายค่าเดินทางเองระหว่างไทย-กับประเทศนั้นๆ แต่...เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้ว กินฟรี อยู่ฟรี ตามกำหนดการ จ่ายเองเฉพาะส่วนตัว
(ค.) สนใจจะเชิญ "พ่อครัว/แม่ครัว" จากไทยไปปรุงเอาหารไทยที่ภัตตาคารใน
เมืองนั้นๆ บ้างไหม? เงื่อนไขคือ ฝ่ายไทยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-
กลับจากไทย-ประเทศนั้นเอง พร้อมทั้งนำเครื่องปรุง/เครื่องแกงจากเมืองไทย
ไปเอง ค่าใช้จ่ายในประเทศนั้น เป็นภาระของเจ้าภาพรวมทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง
ไม่น้อยกว่าอัตราเฉลี่ยของ "พ่อครัว/แม่ครัว" ในภัตตาคารนั้น
๒. เมื่อได้ศึกษาข้อมูล/ทดสอบข้อมูลตามข้อ ๑ จนได้ผลสรุปแล้ว นำมาพิจารณาในที่ประชุมคณะทำงาน/คณะอนุกรรมการฯ/คณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินการในลำดับก้าวต่อไป เช่น
๒.๑. ภัตตาคารในเมืองใดมีคนสนใจมากก็อาจเจรจาว่า เขาสนใจเชิญ/จ้าง "พ่อครัว/
แม่ครัว" ไปทำงานประจำภัตตาคารของเขาบ้างไหม? ทำสัญญาระยะสั้น ๓ เดือน
๖ เดือน หรือระยะยาว ๓ ปี ก็แล้วแต่
๒.๒. ภัตตาคารบางแห่งสนใจ แต่อาจมีศักยภาพไม่มากพอ ก็อาจจัดคนของเมืองเขาเอง
มาเรียนวิธีปรุงอาหารไทย จากองค์กรในเมืองไทยก็นับว่าเป็นการเผยแพร่ที่ได้ผล
ระดับหนึ่ง
๒.๓. วัตถุดิบเพื่อปรุงเป็นนำ้พริก/เครื่องปรุงและเครื่องแกง ผลิตได้ในชนบทไทยทุกแห่ง
แม้มีพื้นที่จำกัดในรั้วบ้านสัก ๑๐๐-๒๐๐ ตารางวา ก็สามารถปลูกพริกขิงข่าตะไคร้ ฯลฯ
แม้ไม่มีพื้นดินเหมาะสมก็สามารถปลูกในกระถาง หม้อ ไห ภาชนะ ฯลฯ ที่ชำรุดแล้ว
ก็ได้ อย่างน้อยก็ผลิตพอแก่การบริโภคในครัวเรือน
พืชผักของไทย |
สมุนไพรไทยสำหรับน้ำพริก |
*** การกินอาหารอร่อยลิ้น ใครมีสตางค์ก็ซื้อกินได้ ไม่จำกัดเพศวัย อาหารนั้นมนุษย์กินวันละ ๓ มื้อ สามารถสร้างรายได้แก่คนหมู่มากอย่างกว้างขวาง หากโครงการ "ครัวไทยไปสู่ครัวโลก" ได้ผลดีแล้ว พืชผักสวนครัวสมุนไพร ฯลฯ เหล่านี้ จะมีตลาดโลกรองรับสามารถส่งออกได้ในรูปเครื่องปรุง/เครื่องแกง มากขึ้นๆ
๓. ที่ต้องเตรียมการ/คู่ขนานกันทันทีที่เริ่มโครงการ คือ
๓.๑ สถาบันการศึกษาระดับวิชาชีพทั่วประเทศ องค์การส่งเสริมอาชีพต่างๆ
ต้องจัดฝึกอบรม "พ่อครัว/แม่ครัว" อาหารไทยให้มีมาตรฐาน ผู้ผ่านการฝึกอบรม
ตามหลักสูตรต้องมีวุฒิบัตร (ภาษาไทย/อังกฤษ) มอบให้ เผื่ออนาคต ถ้าจะไปทำงาน
ต่างประเทศก็จะได้สิทธิพิเศษในการขอวีซ่า
๓.๒. กลุ่มแม่บ้าน/ชมรมแม่บ้านทั่วประเทศต้องติดตามศึกษาข้อมูลความเคลื่อนไหว
ในโครงการฯ อย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาว่า
ผลประโยชน์จากโครงการฯ ดีๆ ที่รัฐบาลดำเนินการฯ นี้ กลุ่มแม่บ้าน/ชมรมแม่บ้านของตนจะเข้าไปขอ "แบ่งปัน" มาได้อย่างไรและเพียงใด เช่น สมมุติได้ข้อมูลว่า ภัตตาคารที่มณฑลเสฉวนมีลูกค้าสนใจจะกินอาหารไทยจำนวน ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน/เดือน ดังนี้ กลุ่มแม่บ้านฯ ในภาคใต้/อีสานก็ควรเสนอไปยังผู้ดำเนินการฯ ในรัฐบาลเสนอขอรับสัญญาผลิตเครื่องปรุง/เครื่องแกงสำเร็จรูปขายให้ในราคาเหมาะสม
๔. ในประเทศใด เมืองใดมีลูกค้า/ภัตตาคารใดต้องการกินอาหารไทยจำนวนมาก หากเขาต้องการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวไทยไปทำงานประจำภัตตาคาร เราก็ส่งออกแรงงานที่มีฝีมือ/รายได้สูงกว่าแรงงานทั่วไปออกไปเก็บเงินกลับเข้าประเทศได้อย่างดี
๕. คนชนบท คนชรา ถ้ามีพื้นที่ว่าง ๑-๒ ไร่ ก็ปลูกพืชผักสวนครัวขายเลี้ยงชีพได้อย่างพอเพียง เพราะการปลูกนี้ใช้น้ำน้อย ใช้แรงน้อย เวลาน้อย แต่ได้เงินมากกว่าปลูกข้าว และพืชไร่อื่นๆ หลายชนิด