1. Stand erect. Feet comfortably apart. Hands rest along side of the body. Breathe 3 times (1234, 1234, 1234) while shaking your hands with lightly stressed muscle and arms stretched raise your arms up sideway with palms facing downward slowly (20 - 30 seconds) until arms at shoulder level.
ยืนตรงแยกเท้าเล็กน้อย มือกำแนบลำตัว หายใจลึกๆ ๓ ครั้ง แล้วค่อยๆ กางแขนออกช้าๆ ช้าๆ และกำหนดใจให้รู้สึกเสมือนหนึ่งว่ากำลังยกตุ้มเหล็กหนักๆ ขึ้นมา (สมมุติน้ำหนักเอาเองให้เหมาะแก่อายุ สังขาร และความจำเป็นที่จะใช้งาน) จนยกกำปั้นขึ้นมาเสมอไหล่แล้วแบมือออกหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง ขณะนั้นฝ่ามือคว่ำลง
2. Breathe 3 times (1234, 1234, 1234) with stressed muscle and arms stretched turn your hands and wrists slowly (20 - 30 seconds) until your palms facing upward.
เกร็งกล้ามเนื้อแขนและค่อยๆ หงายฝ่ามือขึ้นมาช้าๆ ช้าๆ ให้รู้สึกเสมือนหนึ่งว่ากำลังออกแรงผลักบานประตูหนักๆ อยู่ หมุนข้อมือจนกระทั่งฝ่ามือหงายขึ้นเต็มที่ เหยียดตรงขนานพื้นตลอดเวลา หายใจลึกๆ และกางแขนยืดอกเต็มที่ ๓ ครั้ง
3. Breathe 3 times (1234, 1234, 1234) with stressed muscle and arms. Stretched raise your arms upward slowly (20 - 30 seconds) until hands are parallel over your head.
แขนตึงตลอดเวลา และค่อยๆ ยกฝ่ามือหรุบขึ้นช้าๆ ช้าๆ จนกระทั่งแขนเหยียดตรงสูงขึ้นไป (ฝึกถึงที่สุด คือ โคนแขนแนบใบหูฝ่ามือชูขนานกันเหยียดตรงอยู่เหนือหัว) หายใจลึกๆ ๓ ครั้ง
4. Breathe 3 times (1234, 1234, 1234) with stressed muscle and arms stretched lower and bend your elbows to form a ring with fingers from both hands touch each other slowly (20 - 30 seconds). Then lower your hands down with palms facing downward until your hands almost touch your head. Breathe 3 times (1234, 1234, 1234) with stressed muscle. Turn your hands and wrists slowly (20 - 30 seconds) until palms facing upward. Then pretend there are some weight on your palms. Push your palms all the way up slowly (20 - 30 seconds) until arms stretched.
เกร็งกล้ามเนื้อ ย่อแขนทั้งคู่ลงมาช้าๆ ช้าๆ กำหนดใจให้รู้สึกเสมือนหนึ่งเรากำลังยกสิ่งของหนักๆ ค่อยๆ ชะลอลงมาจนกระทั่งฝ่ามือขนาดกันอยู่ตรงระดับใบหน้าของเรา ค่อยๆ ย่อตัวลงไปๆ จนนั่งยองๆ เท้าราบ หายใจเต็มพุง ๓ ครั้ง แต่มือทั้งสองข้างยังคงอยู่ในท่าเดิม ข้อศอกตั้งบนเข่า แล้วค่อยๆ ยืนขึ้นช้าๆ จนตัวตรงแล้วหายใจยาวๆ
5. With arms stretched move your arms forward and down slowly (20 - 30 seconds) until arms at shoulder level. Still with arms stretched. Bend your body forward and down slowly (20 - 30 seconds) until your hands point down to the toes without bending your knees - some may be able to touch their toes. Still with arms stretched. Move your arms backward and up slowly (20 - 30 seconds) until hands point up to the sky.
เกร็งกล้ามเนื้อ ค่อยๆ ขยายฝ่ามือเข้าออกๆ เสมือนหนึ่งว่ามีสปริงดันฝ่ามือออก แต่มีสปริงอีกชุดกดอยู่หลังมือไม่ให้ขยายออกง่ายๆ หายใจเฉพาะทางจมูกเร็วๆ แรงๆ เสมือนปล้ำสู้กับผู้ร้าย
6. Slowly stand up and then slowly lower your body down (20 - 30 seconds) until you almost sit on the floor. Wrap your arms around under your knees until fingers from both hands touch each other with palms facing upward. Breathe the step 1 and step 4 Three times (1 & 4, 1 & 4, 1 & 4). Slowly stand up and move hands up (with hands still touch each other with palms facing upward) until at chest level (20 - 30 seconds). Turn your hands and lower them down slowly (20 - 30 seconds) until hands and arms rest along side of your body.
แผ่ฝ่ามือขยายออกๆ จนที่สุดฝ่ามือของเรากางออกไปจนสุดแขนเหยียดตรง ฝ่ามือคว่ำลง ยืดอกเต็มที่ และหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง ค่อยๆ ลดแขนทั้งสองลงช้าๆ จนแนบตัว
Complete the set. Do at least 2 sets. Do two or three times a week.
ครบท่าบริหารเพียงแค่นี้เองไม่มีอะไรยาก แต่ต้องกลับไปเริ่มที่ขั้นตอนที่ (๑) อีก ทำกลับไปกลับมาสัก ๕-๖ เที่ยว ต้องได้เหงื่อไหลออกมาแน่นอน
=================================================
My biography
I was born and raised in Lampang town, in Northern region of Thailand. When I was young. I was often allergic to fermented rice noodle and all species of cucumbers. After eating, there were red rashes all over body. After taking medicine and sweat out. Red rashes were gone but it paused me to eat my favorite those spicy coconut noodle for decades. When I was 13. My bad allergy became a severe asthma. At least once a year I would suffer from asthma or unfortunately if I contacted with dust or Spring turned to Winter. My allergy came back. I were sick for 22 years while I lived in Lampang town.
During 29 to 33 years old I was working in Pichit, Chiangmai and Nan towns. Often I had allergic to the weather changes. Sometime I had been transported to ICU at Maharaj Hospital in Chiangmai town.
I used ventolin inhaler whenever I was sick. In 1991, doctors found out I had high blood pressure (180-80, 190-90). As a result of bad heart valve and had to take medications to control it. In August 1995, doctors found that I had two bad arteries - 86.5% blocked artery. In November 1995, doctor found that I had a carotid artery blockage and ordered me to do exercise to help my heart healthy and within two months I felt quite well.
On September 16, 1997, Professor Zhang Qi from the University of Liaoning, China PRC. He was invited to Thammasart University to lecture and demonstrate the alternative way to get healthy by exercising the Bootung Temple Exercises. The exercises emphasize on breathing and stretching that the Shaolin Kung-Fu monks practice. The first 8 steps are good for ordinary people to practice to get healthy.
I did not practice the exercise until April 24, 1999. When I was very sick from fever and allergies for two weeks. After taking medications and using ventolin inhaler, I was still very sick. So I got up that morning and started practicing the 8 steps exercise for about 15 minutes (3 sets) and to my surprise I sweated all over and felt good like normal without taking any medications. Since then I never had to take any medication again. Also in 1999, after practicing the exercise from Chinese Bootung temple, Sinsae Chern (phone number: +66 2 234 3085, +6681 489 3811), a well-known Chinese alternative exercise teacher in Bangkok taught me that exercise from Chinese Shaolin temple which is good for women, elder persons and kids.
I finished high school from Boonyawat College in Lampang. Bachelor degree in economic study from Thammasart University and MBA from NIDA. Received an honor as a prominent alumni of Thammasart University. I worked for Ministry of Commerce until age of 58 years old.
(Mr. Supakit Nimmannorathep passed away on 20th February 2017 after he took the operation for the artificial artery heart valve in November 2016. He was honored the royal cremated fire from His Majesty the King's Royal Household on 28th May 2017 at the mortuary Dhepsirin Temple).
เมื่อเด็กๆ ผมผอมเกร็งแต่แข็งแรงและซุกซนมากพอดู ผมมีอาการของโรคภูมิแพ้อยู่ด้วยเมื่อกินขนมจีนและแตงกวา รวมทั้งแตงอื่นๆ ผมจะเกิดผื่นคัน "ลมพิษ" ขึ้นทั้งตัว กินยาเม็ดเดียวแล้วไปนอนห่มผ้าให้เหงื่อออกและหลับไปสักพักใหญ่ก็หายเป็นปกติ ผมไม่กล้ากินขนมจีนน้ำยาที่ชอบอยู่นานกว่า ๑๐ ปี
ครั้นอายุ ๑๓ ปี อาการภูมิแพ้แรงขึ้นเป็น "หอบหืด" ทรมานมาก ปีหนึ่งๆ จะป่วยอย่างน้อย ๑ ครั้ง อาจจะหลายครั้งเมื่อ "แพ้ฝุ่น" เมื่อ "อากาศเปลี่ยนฤดู" เข้าสู่ฤดูหนาวผมป่วยตลอด ๒๒ ปีที่อยู่ลำปาง ต่อมาเมื่ออายุ ๒๙ - ๓๓ ปี รับราชการอยู่ที่จังหวัดพิจิตร เชียงใหม่ และจังหวัดน่าน มีอาการ "แพ้อากาศ" บ่อยมาก ถึงขนาดต้องถูกนำส่งห้อง ไอ.ซี.ยู. กลางดึงที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๕ หลังจากนั้นได้ไปรับราชการที่จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ในหุบเขา อากาศในฤดูหนาวแปรปรวนมาก ผมจึงป่วยทุกสัปดาห์ ช่วงนั้นข้าราชการชั้นโทขึ้นไปมีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เพียงครึ่งหนึ่ง ผมต้องจ่ายค่ารักษาตัวเองปีหนึ่งเท่ากับเงินเดือน ๔ เดือน
ผมได้ย้ายลงมารับราชการในภาคกลางและตะวันออก คือ สุพรรณบุรี สมุทรปราการ และชลบุรี ช่วงปี ๒๕๑๗ - ๒๕๒๖ สุขภาพดีขึ้นมาก คือ ป่วยน้อยลงเหลือปีละ ๑ - ๒ ครั้ง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจาก ๕๐ กิโลกรัม เป็น ๕๕ - ๖๐ และ ๖๓ - ๖๔ กิโลกรัม เมื่อช่วงอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ปลายปี ๒๕๒๖ ผมย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพียงไม่กี่วันก็ป่วยเพราะ "แพ้อากาศ" ในกรุงฯ ซึ่งนอกจากมลพิษเข้มข้นมากกว่าอากาศชายทะเลชลบุรีแล้ว ปีนั้นอากาศยังวิปริตฝนตกชุกเกินเหตุจนเกิดน้ำท่วมใหญ่กระจายรอบกรุงเทพฯ อากาศช่วงปลายปี ๒๕๒๖ จึงทั้งชื้นและเย็นกว่าปีก่อนและหลังจากนั้น ผมมีอาการหอบ หายใจไม่เต็มปอดตลอดเกือบ ๒ เดือน ในช่วงพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๒๖
ช่วงปี ๒๕๒๗ - ๒๕๓๐ ผมได้ไปร่วมงานที่ศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง กอ.รมน. สวนรื่นฤดี เป็นเวลา ๓ ปีครึ่ง มีภารกิจต้องออกตระเวนไปกับคณะผู้แทน ศอพป. ไปตรวจเยี่ยมหมู่บ้าน อพป. ตามชนบทป่าเขาต่างๆ ทั่วประเทศ ผมต้องเดินย่ำตามคณะตรวจเยี่ยมซึ่งแข็งแรง เดินเก่งโดยเฉพาะทหารเข้มแข็งมาก ผมพลอยแข็งแรงตามคณะไปด้วย ครั้นกลับมาทำราชการปกติ ผมมีเวลาว่างจึงสอบเข้าเรียนปริญญาโทภาคค่ำที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) การเรียนหนังสือในยามแก่อายุ ๔๖ ปี กว่าจะจบก็ต้องผ่าน "ความเครียด" ไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยครั้ง ดังนั้น เมื่อเรียนจบจึงได้ "โรคหัวใจ" แถมพกนอกจากปริญญาโท ต้องเข้าไปนอนในโรงพยาบาลราชวิถี เมื่อต้นปี ๒๕๓๔ นับเป็นครั้งที่ ๒ ในชีวิตที่ผมต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ๑ สัปดาห์
หมอตรวจพบว่าอาการความดันโลหิตสูง (เฉพาะตัวบน) เช่น ๑๘๐-๘๐, ๑๙๐-๙๐ นั้นมีสาเหตุมาจาก "ลิ้นหัวใจรั่ว" แต่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (ใช้ลิ้นหัวใจเทียมใส่แทน) จึงใช้การบำบัดรักษาด้วยยาเพื่อควบคุม "ความดันโลหิต" มิให้สูงเกินไปแต่คุณหมอ ๒ - ๓ ท่าน ที่รักษาผมแจ้งให้ทราบว่าการกินยาเป็นเพียงการประคอง หรือยืดอายุให้ใช้ลิ้นหัวใจของแท้ที่ชำรุด หรือรั่วนั้นให้อยู่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถึงอย่างไร "ลิ้นแท้" ก็ย่อมดีกว่า "ลิ้นเทียม" แน่นอน แต่ถ้าถึงวันหนึ่ง เมื่อผม (คนไข้) มีอาการเหนื่อยง่ายมาก ความดันโลหิตสูงมาก เช่น ความดัน ๒๐๐ หรือ ๒๑๐-๙๐ เมื่อเดินขึ้นกระไดเพียงขั้นที่ ๒ ก็เหนื่อยหอบแล้ว ความดันโลหิตพุ่งขึ้นสูงปรี๊ดก็คงถึงเวลาต้องผ่าตัดเปลี่ยน "ลิ้นหัวใจ" แทนลิ้นที่ชำรุด
กันยายน ๒๕๓๕ สมัยแรกของรัฐบาลที่มี ฯพณฯ ชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น คุณอุทัย พิมพ์ใจชน ส.ส. ชลบุรีและหัวหน้าพรรคเอกภาพได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผมเคยเป็นพาณิชย์จังหวัดชลบุรี ๖ ปี คนชลบุรีรู้จักผมดี ผมจึงถูกยืมตัวไปช่วยราชการประจำ ฯพณฯ รมว. อุทัย พิมพ์ใจชน ตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ท่านดำรงตำแหน่ง ในขณะเดียวกันผมก็ยังปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ด้วย ภารกิจจึงหนักและเครียดมาก แต่ผมก็ทำงานทั้ง ๒ ตำแหน่งควบคู่กันได้อย่างดี ควรจะได้ ๒ ขั้นด้วย เพราะที่ผมเคยได้ ๒ ขั้นหลายครั้ง ก่อนหน้านี้ผมทำงานน้อยกว่านี้อีก เผอิญเงินเดือนของผมเต็มขั้นชนเพดานมาหลายปีแล้ว
อย่างไรก็ดี อาการ "ลิ้นหัวใจรั่ว" ของผมแย่ลงๆ เพราะเหนื่อยมากขึ้น เดินเร็วก็เหนื่อย ขึ้นกระได ๒ ขั้นก็ต้องหยุดหอบ ๔ - ๕ นาที ยกหรือหิ้วกระเป๋าเอกสารเดินจากห้องทำงานไปใส่รถยนต์ห่าง ๔๐ - ๕๐ เมตรก็เหนื่อย ในขณะเดียวกัน "อาการหอบ" เพราะภูมิแพ้ก็ยังไม่หายขาด เพียงแต่เป็นน้อยลงเพราะคุณหมอสมยศ คุณจักร (ชาวพนัสนิคม ชลบุรี) รพ. รามาธิบดีช่วยรักษา ปี ๒๕๓๘ ฯพณฯ อุทัย พิมพ์ใจชน พ้นตำแหน่งไปพร้อมรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม ผมจึงมีเวลาว่างพอที่จะเข้าผ่าตัดเปลี่ยน "ลิ้นหัวใจ" อีกทั้งคุณหมอพูลชัย จิตอนันต์วิทยา ผู้ดูแลรักษาก็ได้ปรึกษากับอาจารย์ พ.ญ. วิไล พัววิไล แล้ว เห็นว่า อาการที่ป่วยอยู่นั้นสมควรเปลี่ยน "ลิ้นหัวใจ" จริงๆ จึงติดต่อขอจองคิวหมอผ่าตัดชั้นหนึ่งของ รพ. ราชวิถี ในขณะนั้นไว้ให้แล้ว
ผมเข้าโรงพยาบาลราชวิถี วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๘ (กำหนดผ่าตัดวันที่ ๙) แต่วันที่ ๘ ตอนสายๆ คุณหมอได้ฉีดสีเข้าหัวใจเพื่อตรวจดูรายละเอียดของเส้นเลือด ลักษณะและขนาดของ "ลิ้นหัวใจรั่ว" โดยพบว่าเส้นเลือดใหญ่ในกล้ามเนื้อหัวใจเส้นหนึ่งตีบไปถึง ๘๖.๕% หมายความว่าเลือดไหลผ่านได้เพียง ๑๓.๕% คุณหมอแจ้งว่าสภาพเช่นนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการ "หัวใจวายกระทันหัน" เป็นอย่างยิ่ง จึงติดต่อส่งตัวผมให้ไปเข้า รพ. โรคทรวงอก กรมควบคุมโรคติดต่อ อยู่ที่สี่แยกแคราย อำเภอเมืองนนทบุรี เป็นคนไข้ของคุณหมอสุดารัตน์ ตันศุภสวัสดิกุล และคณะ วันที่ ๑๐ สิงหาคม คุณหมอและคณะก็รักษาอาการเส้นเลือดตีบด้วย "บอลลูน" และเสริม "ใยเหล็ก" ในเส้นเลือดตรงจุดที่ยุบตัวลงมา "ตีบ" นั้นด้วย ซึ่งจะมีผลดีทำให้จุดนั้นไม่ยุบตีบอีกอย่างน้อย ๒๐ ปี
ช่วง ๑๐ วัน วิกฤตที่เข้าโรงพยาบาลครั้งนี้มีโอกาสอ่านข่าวเพื่อนรุ่นพี่ที่คุ้นเคยกันสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ คุณวิทยา สุขดำรงค์ หัวใจวายตายเมื่อคืนวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๘ นึกในใจว่าถ้าได้พบกันก่อนหน้านั้นก็จะชวนให้เข้ารับการรักษาจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา "โรคหัวใจ" ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลโรคทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ แห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ ถ้าได้รักษาก่อนแล้ว โอกาสรอดชีวิตมีมากกว่าแน่นอน หลังทำ "บอลลูน" ผมต้องกินยาละลายลิ่มเลือดอีกหลายเดือนเพื่อไม่ให้มี "เกร็ดเลือด" ไปอุดตันในเส้นเลือด
ครั้นกลางเดือนพฤศจิกายนปีนั้นเอง ขณะที่ผมพาคณะนักเขียนจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนไปเยือนพัทยานั้น ตื่นขึ้นมาในเช้าวันอาทิตย์ ผมรู้สึกว่าเพดานหมุนติ้วแม้จะหลับตาก็รู้สึกหัวหมุนอาเจียนอย่างหนักจนไม่มีอะไรจะออกอีก ผมจึงขอยืมตัวคนขับรถของพาณิชย์จังหวัดชลบุรีไปช่วยขับรถพาเข้าไปหาหมอที่โรงพยาบาลราชวิถี คุณหมอพูลชัยซึ่งภรรยาผมติดต่อไว้ ก็มาดูแลรักษาและให้พักอยู่ในห้องฉุกเฉินถึงราว ๒ ทุ่ม ผมก็ขออนุญาตกลับบ้านได้ ตั้งแต่วันนั้นผมก็มีสภาวะเป็น "คนพิการ" คือ เดินเซซุน เหมือนคนเมาเหล้าอย่างหนักคือ เซซ้าย เซขวา เด้งหน้า เด้งหลัง บังคับการทรงตัวไม่ได้ แต่ประหลาดที่ผมยังขับรถมาทำงานเช้าๆ และจนค่ำมืดทุ่มเศษ ภรรยาจึงมาหาและเดินให้ผมเกาะประคองตัวมิให้เซซุนไปมาเสียหาย เพราะใครไม่รู้ความจริงอาจเข้าใจว่าผมเมาเหล้าเป็นอาจิณ
ผมวิตกว่าจะเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต จึงไปหาหมอทุกวันในสัปดาห์แรก หมออธิบายว่าอาการป่วยที่ผมเป็นนี้เกิดจากความเครียด และเส้นโลหิตตีบตรงช่วงก้านคอ จึงทำให้เลือดขึ้นเลี้ยงสมองไม่ปกติ ดังนั้นนอกจากกินยาแล้ว ผมต้องบริหารคอวันละ ๒ เซ็ท ก่อนอาบน้ำ เช้าค่ำ
วิธีบริหาร (ง่ายมาก) คือ ก่อนอาบน้ำเช้า และก่อนอาบน้ำเย็น/ ค่ำ ให้ใช้มือ ๒ ข้างสอดประสานนิ้วและยกขึ้น ดึงหน้าผากไปข้างหลัง แต่เราต้องเกร็งคอขืนเอาไว้ ดึง ๑๐ ครั้ง ขืนคอไว้ทั้ง ๑๐ ครั้ง แล้วเปลี่ยนไปดึงท้ายทอยให้ไปข้างหน้า พร้อมกันนั้นเราก็ขืนท้ายทอยให้ตั้งตรงไว้ทั้ง ๑๐ ครั้ง จากนั้นใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งยันเหนือทัดดอกไม้ ในขณะเดียวกันก็ขืนคอให้ตั้งตรงเอาไว้ทั้ง ๑๐ ครั้ง มืออีกข้างหนึ่งเท้าสะเอวไว้ด้านซ้ายกับขวารวม ๒๐ ครั้ง ด้านหน้าผากกับท้ายทอยอีกรวม ๔ ด้าน ๔๐ ครั้ง วันละ ๒ เซ็ท ๘๐ ครั้ง (ความดันสูง/เส้นเลือดโป่งห้ามทำ)
คุณหมอรับรองว่าถ้าผมบำบัดเช่นนี้ทุกวันละก็ ผมต้องหายเป็นปกติก่อนปีใหม่แน่นอน คุณหมอพูลชัยฯ ไม่ได้พูดเอาใจผม แต่หมอกับผมจะต้องทำให้ได้ เพราะคุณหมอจะแต่งงานในวันที่ ๓๐ ธันวาคมนั้น และจองตัวผมเป็นผู้กล่าวขอบคุณแขกแทนคุณพ่อคุณแม่ของคุณหมอ ครั้นถึงวันดังกล่าวผมก็เดินขึ้นเวทีไปทำหน้าที่อย่างเรียบร้อยดี เป็นที่พึงพอใจของเจ้าภาพ
ไม่น่าเชื่อนะครับว่า กายภาพบำบัดง่ายๆ แค่วันละ ๒ หนๆ ละไม่เกิน ๑๐ นาทีจะสามารถบำบัดรักษาคนไข้ที่ใกล้จะเป็นอัมพฤกษ์อยู่รอมร่อให้กลับฟื้นคืนเป็นปกติได้ เพราะในช่วงเดือนแรกที่ผมป่วยนั้น นอกจากอาการเดินซวนเซเหมือนคนเมาเหล้าอย่างหนักแล้ว ผมยังไม่กล้าข้ามถนน เพราะรู้สึกว่าบังคับขาทั้งสองให้ก้าวเดินดั่งใจต้องการไม่ได้แม้ถนนแคบๆ แถวรอบๆ กระทรวงพาณิชย์ผมก็ไม่กล้าเดินข้าม
เริ่มปีใหม่ ๒๕๓๙ ผมบริหารคออย่างเคยทุกวัน สุขภาพดีขึ้นตามลำดับ สมองแจ่มใสทำ "เอคโค่" วัดปริมาตรหัวใจเล็กลงจากเดิม เมื่อก่อนทำ "บอลลูน" นั้น หัวใจผมมีปริมาตร ๒๗๘ ซี.ซี. คือ สภาพ "หัวใจโต" มากๆ นอนตะแคงซ้ายไม่ได้มาหลายปีหลังจากทำ "บอลลูน" ๓ - ๔ เดือน ตรวจพบว่าปริมาตรหัวใจลดลงเหลือ ๒๓๔ ซี.ซี. ดีขึ้น นอนตะแคงซ้ายได้สักครู่ ๒๐ - ๓๐ นาที แต่ปี ๒๕๓๙ ผมแข็งแรงขึ้นตามลำดับไปราชการต่างประเทศ ๕ ครั้ง ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และยุโรป ๓ ประเทศ คือ สเปญ โปรตุเกส และฝรั่งเศส ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ช่วงเมษายน ๒๕๓๙ ระหว่างพักโรงแรมที่โปรตุเกส ผมพบเพื่อนนักเรียนเก่า "บุญวาทย์วิทยาลัย" รุ่นเดียวกันชื่อ คุณเกรียงศักดิ์ (แมว) ขันธรักษ์ เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถามสารทุกข์สุกดิบกัน ผมก็บอกอาการป่วยของผมและบอกวิธีบำบัดรักษาตนเอง ทั้งย้ำว่า "โรคหัวใจ" นั้น ถ้าได้พบหมอรักษาก่อนละก็ไม่ตายหรอก เดือนต่อมาผมพบเพื่อนนักเรียนเก่า "บุญวาทย์วิทยาลัย" รุ่นถัดจากผมอีกคนหนึ่ง ชื่อคุณบุญธรรม พรหมณี เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ถามถึงสุขภาพของผม ผมก็เล่าและปรารภทำนองเดียวกับที่คุยกับคุณเกรียงศักดิ์
แต่อนิจจาในเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนั้นเอง เพื่อนนักเรียนเก่าทั้ง ๒ คนนี้ ก็ถึงแก่กรรมกระทันหันด้วย "หัวใจวาย" อย่างอนาถ คนหนึ่งตายที่ร้านอาหารขณะนั่งกินมื้อค่ำอยู่ลำพังคนเดียว อีกคนตายในห้องสุขาที่ตึก อ.ต.ก. ทั้งคู่ตายในขณะที่กำลังจะได้เลื่อนชั้นตำแหน่งอยู่ทีเดียว น่าเสียดายยิ่งนัก ผมยังไม่อยากตายและไม่อยากอยู่อย่างออดๆ แอดๆ จึงคอยดูแลติดตามผลการกินยากับปฏิกิริยาตอบรับของร่างกาย ผมมีเครื่องวัดความดันโลหิตและชีพจรใช้ประจำบ้าน จึงคอยวัดทุกระยะและจดบันทึกไปให้คุณหมอช่วยพิจารณา
ด้วยผลจากการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของคุณหมอกับผม ทำให้สภาพของหัวใจของผมดีขึ้นตามลำดับ ทำ "เอคโค่" แล้วได้ทราบว่าปริมาตรหัวใจลดขนาดลงเรื่อยๆ จนล่าสุดเมื่อต้นปี ๒๕๔๒ หัวใจของผมมีขนาดเพียง ๑๔๗ ซี.ซี. (จากเดิมที่เคยแย่ที่สุดคือ ๒๗๘ ซี.ซี.) ทำให้นอนตะแคงซ้ายหลับได้ตลอดคืนทั้งๆ ที่ผมทำไม่ได้มาสิบปีแล้ว อีกทั้งยังเดินขึ้นบันไดตึก ๓ ชั้นได้รวดเดียว ไม่ต้องหยุดพักหอบเหนื่อยทีละชั้นแล้ว แต่แล้วโรคเก่าอันเป็นโทษสมบัติเฉพาะก็กลับมากำเริบหนักอีกครั้ง เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ช่วงนั้นอาจารย์จงจิต ภรรยาของผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรฝึกอบรมสัมมนาครูอาสาสมัครสอนภาษาไทยที่วัดไทย ณ กรุงวอชิงตันแล้วแวะเยี่ยมลูกสาวคนเล็กซึ่งกำลังเรียนปริญญาโท สาขาคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ผมต้องอยู่ลำพังหนึ่งเดือนครึ่ง
ช่วงก่อนสงกรานต์ ผมเก็บเอกสารข้าวของในห้องทำงานเพื่อเตรียมการขนย้ายไปอยู่อาคารตึกใหม่ที่ถนนสนามบินน้ำ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี เก็บเอกสารได้ ๒ วัน ผมก็เริ่มมีอาการแพ้ พอวันที่ ๓ ก็เจ็บคอมีไข้จึงไปหาหมอที่ รพ. รามาธิบดี หมอสั่งยาแก้อักเสบแก้ไขและอื่นๆ ที่จำเป็นให้ผมกิน เผอิญช่วงเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ฝนตกผิดปกติแทบทุกวันๆ ต่อเนื่องไปจนกลางเดือนพฤษภาคมด้วย อาการป่วยของผมยิ่งย่ำแย่ลงไปทุกวัน จับไข้ทุก ๔ - ๕ ชั่วโมง กินยาแก้ไข้และเหงื่อออกสร่างไข้อีก ๔ - ๕ ชั่วโมง ก็จับไข้กินพาราเซตตามอล ๒ เม็ด เหงื่อออกสร่างไข้วนเวียนอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ถึงคืนวันที่ ๒๓ เมษายน ที่ร้ายมากที่สุดคือ อาการหอบหืดอย่างหนัก กินยาฟรานอลทีละ ๒ เม็ดก็ไม่หยุด ใช้ยาพ่นชนิดหลอด (Ventolin Inhaler) ก็ไม่หยุดหอบ นอนตะแคงก็ไม่หลับ เพราะหนวกหูที่มีเสียงหอบของตัวเองดังครืดคราดๆ ตลอดเวลา ใช้ยาละลายเสมหะวันละ ๑๐ - ๑๒ ซอง เพื่อขับก้อนเสมหะในหลอดลมก็ไม่ยอมออกมา ใช้เครื่องพ่นยารมเข้าหลอดลม เช้า-เย็นและก่อนนอน ก็เพียงบรรเทาให้นอนได้แต่ก็ต้องนอนหงาย และเรียงหมอนให้หัวสูงขึ้น นอนได้สัก ๒ - ๓ ชั่วโมงก็เมื่อย พอพลิกตัวตะแคงก็สะดุ้งตื่นเพราะเสียงหอบยังมีอยู่
ผมต้องขอเลื่อนหรืองดงานไปหลายราย แต่วันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๒ เวลาบ่ายสองโมง ผมจะต้องเป็นวิทยากรเดี่ยวปาฐกถาเรื่องไซอิ๋วภาคพิสดาร ที่ห้องประชุมใหญ่ วิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก (O.C.A.) ผมจะไปพูดได้ยังไงตั้ง ๒ ชั่วโมง ในเมื่อคืนวันที่ ๒๓ เมษายน ผมยังมีไข้หนาวสะท้านหอบเหนื่อย ลุกยืนแทบไม่ไหว แต่ถ้าผมไปไม่ได้ก็ต้องเสียหายมาก เพราะผู้จัดกรได้ออกข่าวเชิญชวนผู้ฟังมากมายแล้วทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ผู้ศึกษาเรื่องจีน และสื่อมวลชนรวมทั้งเพื่อนข้าราชการจากกระทรวงพาณิชย์รอฟังอยู่
เช้ามืดวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายนนั้น ผมยังอาการไม่ดีพอที่จะไปพูดได้ นอนนึกๆ อยู่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะไปพูดได้สักหนึ่งชั่วโมงก็ยังดี ทันใดนั้นก็นึกได้ว่าเมื่อกลางปี (๑๖ กันยายน ๒๕๔๐) มีศาสตราจารย์จางฉี (Zhang Qi) แห่งภาควิชาพลศึกษาของมหาวิทยาลัยมณฑลเหลียวหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาบรรยายพิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงหลักการกายภาพบำบัดของลัทธิเต๋า เพื่อให้อายุยืนและกล่าวว่า สำนักบู๊ตึ๊ง คือ หนึ่งในสำนักธรรมชาติบำบัดตามลัทธิเต๋า โดยมีแพ่โจ้ว หรือ เผิงจู่ เจ้าแห่งอายุวัฒนะเป็นปรมาจารย์อยู่ท่านหนึ่งด้วย แพ่โจ้ว คือ ผู้ที่ชาวจีนปั้นรูปของท่านไว้บูชาเรียกว่า ซิ่ว หรือ โซ่ว ในชุดสามเทพ ที่เรียกว่า ฮก ลก ซิ่ว (หรือ ฝู ลู่ โซ่ว)
การบรรยายครั้งนั้นได้สอนท่ากายภาพบำบัด หรือการบริหารง่ายๆ ให้บางท่า จนแม้ท่านอนหลับ "แบบกบจำศีล" และการถ่ายอุจจาระที่ถูกลักษณะ อีกทั้งผู้บรรยายซึ่งอายุ ๖๓ ปี ยังสปริงตัวแผล็วขึ้นไปสาธิตท่าบริหารกายอยู่บนโต๊ะให้เห็นชัด ผมหลับตานึกทบทวนจนจำได้ท่าหนึ่งอย่างแม่นยำ จึงรีบลุกขึ้นเก็บที่นอนแล้วก็เร่ิมบริหารร่างกายตามตำรับบู๊ตึ๊งทันทีดังนี้
๗.๑. ยืนตรงแยกเท้าเล็กน้อย มือกำแนบลำตัว หายใจลึกๆ ๓ ครั้ง แล้วค่อยๆ กางแขนออกช้าๆ ช้าๆ และกำหนดใจให้รู้สึกเสมือนหนึ่งว่ากำลังยกตุ้มเหล็กหนักๆ ขึ้นมา (สมมุตินำ้หนักเอาเองให้เหมาะแก่อายุ สังขาร และความจำเป็นที่จะใช้งาน) จนยกกำปั้นขึ้นมาเสมอไหล่ แล้วแบมือออกหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง ขณะนั้นฝ่ามือคว่ำลง
๗.๒. เกร็งกล้ามเนื้อแขนและค่อยๆ หงายฝ่ามือขึ้นมาช้าๆ ช้าๆ ให้รู้สึกเสมือนหนึ่งว่ากำลังออกแรงผลักบานประตูหนักๆ อยู่ หมุนข้อมือจนกระทั่งฝ่ามือหงายขึ้นเต็มที่ เหยียดตรงขนานพื้นตลอดเวลา หายใจลึกๆ และกางแขนยืดอกเต็มที่ ๓ ครั้ง
๗.๓. แขนตึงตลอดเวลา และค่อยๆ ยกฝ่ามือหรุบขึ้นช้าๆ ช้าๆ จนกระทั่งแขนเหยียดตรงสูงขึ้นไป (ฝึกถึงที่สุดคือ โคนแขนแนบใบหูฝ่ามือชูขนานกันเหยียดตรงอยู่เหนือหัว) หายใจลึกๆ ๓ ครั้ง
๗.๔. เกร็งกล้ามเนื้อย่อแขนทั้งคู่ลงมาช้าๆ ช้าๆ กำหนดใจให้รู้สึกเสมือนหนึ่งเรากำลังยกสิ่งของหนักๆ ค่อยๆ ชะลอลงมาจนกระทั่งฝ่ามือขนานกันอยู่ตรงระดับใบหน้าของเรา ค่อยๆ ย่อตัวลงไปๆ จนนั่งยองๆ เท้าราบ หายใจเต็มพุง ๓ ครั้ง แต่มือทั้งสองข้างยังคงอยู่ในท่าเดิม ข้อศอกตั้งบนเข่า แล้วค่อยๆ ยืนขึ้นช้าๆ จนตัวตรง
๗.๕. เกร็งกล้ามเนื้อค่อยๆ ขยายฝ่ามือเข้าออกๆ เสมือนหนึ่งว่ามีสปริงดันฝ่ามือออก แต่มีสปริงอีกชุดกดอยู่หลังมือไม่ให้ขยายออกง่ายๆ หายใจเฉพาะทางจมูกเร็วๆ แรงๆ เสมือนปล้ำสู้กับผู้ร้าย
๗.๖. แต่ฝ่ามือขยายออกๆ จนที่สุดฝ่ามือของเรากางออกไปจนสุดแขนเหยียดตรง ฝ่ามือคว่ำลง ยืดอกเต็มที่ และหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง ค่อยลดแขนทั้งสองลงช้าๆ จนแนบตัว
๗.๗. ครบท่าบริหารเพียงแค่นี้เอง ไม่มีอะไรยาก แต่ต้องกลับไปเริ่มที่ขั้นตอน (๑) อีก ทำกลับไปกลับมาไม่ถึง ๑๐ เที่ยว ต้องได้เหงื่อไหลออกมาแน่นอน
๘. ครั้งแรกที่ผมลองทำกายภาพบำบัดเช่นนี้ ผมเกิดความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะ
๘.๑. ทำไปได้ ๓ รอบ เสมหะที่อัดแน่นอยู่ในหลอดลมหลุดออกมาเรื่อยๆ ต้องหยุดบ้วนลงกระโถนเป็นระยะ รู้สึกโล่งอก หายใจได้เต็มปอดเป็นครั้งแรกในเดือนนั้น บ้วนเสมหะจนหมดตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันนี้ไม่มีเสมหะอีกเลย เสียงกรนก็หายไปด้วย
๘.๒. เมื่อทำไปได้อีก ๑๕ นาที เหงื่อไหลโชกเหมือนกินยาแก้ไข้ ๒ เม็ด ไข้หายหมดเช่นเดียวกับกินยา
๘.๓. เสียงหอบหืดหายไปนับแต่วันนั้น โดยไม่ต้องใช้ยา
ผมออกไปบรรยายเรื่องไซอิ๋วได้ ๒ ชั่วโมงรวดไม่มีวี่แววคนเพิ่งหายไข้ได้ป่วยมา ๑๒ วันเลย คนฟังสนุกสนานจนหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจนำไปเขียนถึงยาวเหยียด ๑ หน้าครึ่งในหน้า "จุดประกาย" และเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตไปทั่วโลก
อาจารย์จงจิตอ่านอินเทอร์เน็ตที่สหรัฐอเมริกา พบว่าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้นำเรื่อง "ไซอิ๋ว" ที่ผมพูดไปลงตีพิมพ์ยาวเหยียดเต็มหน้าครึ่งรู้สึกตื่นเต้นมาก จึงส่งอีเมลมาบอกข่าวด้วยความปิติยินดีที่ผมหายป่วยและไปบรรยายได้ดี แต่เธอไม่รู้หรอกว่าผมหายป่วยได้อย่างไร เธอรู้ชัดก็เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม เมื่อเธอกลับมาถึงเมืองไทย และผมอุ้มเธอลอยขึ้นไปได้เป็นครั้งแรก ในช่วง ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ผมอุ้มลูกหนัก ๒๕ กิโลกรัมยังไม่ไหวเลย ที่ไหนจะอุ้มเมียที่หนักกว่าลูกได้!
เอ็นข้อมือซ้ายของผมพลิกตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ช่วงที่ป่วยหนักรันทดมาก ไปหาแพทย์ทางกระดูกและเส้นเอ็นรักษาก็ไม่หาย หมอแนะนำว่า ถ้ารักษาด้วยยาไม่หายก็ต้องผ่าตัด เพื่อนผมชื่อคุณอัครพงศ์ (เม้ง) อัครเกษมพร ไปเชิญซินแสเฉิน จากย่านตลาดน้อย กรุงเทพฯ ช่วยนวดให้ ๒ ครั้งๆ ละ ๑๐-๑๕ นาที พลิกเอ็นกลับเข้าที่เป็นปกติได้ง่ายดาย ผมดีใจมาก แต่จะตอบแทนเป็นเงิน ซินแสเฉินก็ไม่รับ จึงขอสาธิตสอนท่ากายภาพบำบัดแบบสำนักบู๊ตึ๊งตอบแทนแก่ซินแสเฉิน
ซินแสเฉินพิจารณาท่าบริหารที่ผมสาธิตให้ดูแล้ววิจารณ์ว่า ท่าบริหารแบบที่ผมสาธิตนี้เน้นการเกร็งกำลัง(ภายใน) มาก จึงเหมาะสำหรับคนหนุ่มที่ต้องการแข็งแรงเร็ว แต่อาจไม่เหมาะสำหรับผู้หญิง หรือคนแก่ หรือคนที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงต้องฟื้นฟูก่อน ซินแสเฉินจึงสอนท่าบริหารกายอย่างง่ายแบบสำนักวัดเส้าหลิน (เสี่ยวลิ้มยี่) ให้ผม โดยมีหลักการไม่เน้นเกร็งกำลังตามลำดับขั้นตอนบริหาร ดังนี้
(เริ่มนาทีที่ ๙.๒๖)
๘.๒. กางแขนขึ้นช้าๆ ช้าๆ ฝ่ามือคว่ำจนแขนกางตรงระดับไหล่ ยืดอกหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง
๘.๓. ค่อยๆ พลิกฝ่ามือช้าๆ ช้าๆ จนหงายขึ้นเต็มที่ (แขนตรง) แล้วยกแขนทั้งสองหุบขึ้นไปช้าๆ ช้าๆ จนฝ่ามือทั้งสองขนานกัน อยู่เหนือศีรษะ แขนเหยียดตรงยืดอกหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง
๘.๔. ค่อยๆ งอข้อศอกให้ปลายมือจรดกันอยู่เกือบแตะศีรษะแบะอกเต็มที่ ข้อศอกเป็นกงในแนวตรงกับลำตัวหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง
๘.๕. ค่อยๆ พลิกเฉพาะฝ่ามือให้หงายขึ้นช้าๆ จนหงายขึ้นเต็มที่แล้วจึงค่อยๆ ยกฝ่ามือดันขึ้นฟ้าอย่างช้าๆ (ถ้าโคนแขนเทอะทะก็เกร็งกล้ามเนื้อในช่วงนี้ด้วย) จนฝ่ามือชูสูงสุด (คล้ายคนยอมแพ้)
๘.๖. ค่อยๆ กวักฝ่ามือลงมาช้าๆ แขนตรงตลอดเวลาครั้นฝ่ามือลงมาถึงระดับไหล่ ให้เราค่อยๆ ก้มตัวลงช้าๆ ตามจังหวะฝ่ามือที่กวักลงมาถึงระดับไหล่ ขาตรงไม่งอเข่า (ปลายมือแตะปลายเท้ายิ่งดี) ฝ่ามือผ่านลำตัวม้วนขึ้นโผล่กลางลำตัว
๘.๗. เมื่อก้มสุดเท่าที่เราจะทำได้แล้ว ให้ค่อยๆ ยืนขึ้นจนตัวตรงหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง แล้วค่อยๆ ย่อตัวลงๆ นั่งยองๆ เท้าราบ เอื้อมมือโอบเข่า หงายฝ่ามือจรดปลายนิ้วเข้าหากัน หายใจเต็มพุง ๓ ครั้ง
๘.๘ คลายมือออกแล้วค่อยๆ ทรงตัวขึ้นยืน โดยหงายฝ่ามือปลายนิ้วจรดกัน ค่อยยกฝ่ามือขึ้นมาตามจังหวะการทรงตัวขึ้นจนตัวตรงและฝ่ามือขึ้นมาถึงระดับอก ค่อยพลิกฝ่ามือคว่ำลงปลายนิ้วจรดกันอยู่ค่อยๆ ลดลงไปจนฝ่ามือสุดแล้ววกมาแนบข้างลำตัว
จบ ๑ รอบ ให้กลับไปเริ่มรอบใหม่ที่จังหวะ ...๘.๒. กางแขนขึ้นช้าๆ ช้าๆ ฝ่ามือคว่ำจนแขนกางตรงระดับไหล่ยึดอกหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง จนถึงจังหวะ ๘.๘. คลายมือออกแล้ว.... กลับไปกลับมาอย่างต่ำ ๕ รอบ หรือจนกว่าเหงื่อออก วันเวลาใดก็ได้ที่สะดวก
ติดต่อ ซินแสเฉิน ได้ที่ 02 234 3085